
-
Image
ปี พ.ศ. 2540
มีการเปิดหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น (4 ปี) ขึ้นเป็นหลักสูตรแรกของภาควิชาฯ
-
Image
ปี พ.ศ. 2543
เปิดหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ (4 ปี) ภายหลังเปลี่ยนชื่อหลักสูตรเป็น สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (พ.ศ. 2550)
-
Image
ปี พ.ศ. 2544
เปิดหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์-ภาษาอังกฤษเพื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
-
Image
ปี พ.ศ.2561
เปิดหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา นวัตกรรมการท่องเที่ยว และการบริการ
-
ปี พ.ศ. 2552
ได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก ภาควิชา ภาษาและสังคม เป็น ภาควิชา ศิลปศาสตร์ประยุกต์ จากจุดเริ่มต้นของภาควิชาภาษาและสังคม จนกลายเป็น ภาควิชาศิลปศาสตร์ประยุกต์ ภาควิชาฯ ได้มีความพยายาม เสนอเรื่องการจัดตั้ง คณะศิลปศาสตร์ ไปยังสภาสถาบันฯ มาแล้วหลายครั้ง จนกระทั่ง ในการประชุมครั้งที่ 6/2559 สภาสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง จึงมีมติให้
คณะศิลปศาสตร์ เป็นหน่วยงานใหม่ และเป็นคณะวิชาลำดับที่ 8 ของสถาบันฯ
สภาสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559
วิสัยทัศน์คณะศิลปะศาสตร์
ส่งเสริมนวัตกรรมและความเป็นเลิศทางศาสตร์และศิลป์ เพื่อตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมบริการและสังคมโลกอย่างยั่งยืน
พันธกิจคณะศิลปศาสตร์
1. ผลิตบัณฑิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้วยศาสตร์และศิลป์ ให้มีทักษะความชำนาญด้านภาษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ควบคู่คุณธรรม และจริยธรรม
2. ผลิต ส่งเสริม ขับเคลื่อนนวัตกรรมและงานวิจัยชั้นนำ เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายของภาคอุตสาหกรรมบริการและสังคมโลก
3. ส่งเสริมและสนับสนุนงานบริการวิชาการ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะความชำนาญด้านภาษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น บนรากฐานความเป็นไทยที่สร้างสรรค์อย่างยั่งยืน
สีประจำคณะศิลปศาสตร์
ตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ยกย่องให้พระสุรัสวดีเป็นเทพแห่งภาษา การสื่อสาร และศิลปวิทยาทั้งปวง กอปรกับสัตว์ที่เป็นเทพ พาหนะของพระสุรัสวดีคือนกยูง ด้วยเหตุนี้คณะศิลปศาสตร์จึงเลือกใช้สีเขียวขนนกยูงเป็นสีประจำคณะและกำหนดให้เรียกสีเขียวขนนกยูงนี้ว่า "สีเขียวยูงทอง" โดยกำหนดให้ใช้สี pantone สีเขียวที่ มีค่าสี 17-5641 TCX (Emerald)
ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปี
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ที่ได้เริ่มมีการเปิดหลักสูตรแรกเป็นต้นมา กล่าวได้ว่าคณะศิลปศาสตร์ได้ผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิตที่มีความ “ซื่อสัตย์ ใฝ่รู้ สู้งาน” ตรงตามอัตลักษณ์ของสถาบันฯ และมีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านภาษาญี่ปุ่น และภาษาอังกฤษ ออกไปรับใช้สังคมไทย ในภาคส่วนต่างๆ รวมกันแล้วไม่ต่ำกว่า 1,400 คน และเราจะไม่หยุดพัฒนาแต่เพียงเท่านี้
